การวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ

Authors

  • จักรกฤษณ์ โพดาพล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

Keywords:

ระเบียบวิธีวิจัย, การวิจัยเชิงนโยบาย, การวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม

Abstract

                    บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการดำเนินการวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม เป็นหนึ่งในวิธีวิจัยที่ได้รับความสนใจจากนักบริหารการศึกษา เนื่องด้วยการกำหนดนโยบายเป็นหน้าที่หลักของผู้บริหารทุกคนที่ต้องบอกถึงทิศทางอนาคตขององค์การ การวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วมเป็นแนวคิดที่พัฒนามาจากแนวคิดการวิจัยเชิงนโยบาย ที่ได้นำเอาหลักการมีส่วนร่วมเข้ามาประยุกต์ไว้ในขั้นตอนการวิจัย ในแนวทางปฏิบัติจะมี 2 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนการเก็บข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล โดยจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้มีการระดมสมองของคนที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย และขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการคาดคะเนโอกาสในการปฏิบัติของข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมกันคิด ร่วมกันวิเคราะห์ และร่วมกันให้ข้อเสนอแนะแทน โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในขั้นตอนแรกมาใช้ประกอบการพิจารณา

References

วิทยาเขตศรีล้านช้าง, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2563). ระเบียบการและคู่มือการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. เลย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2554). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา แนวคิดและกรณีศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษราพิพัฒน์ จำกัด.

Majchrzak, Ann. (1984). Methods for policy research: Applied social research methods. Newbury Park: Sage

Downloads

เผยแพร่เมื่อ

30-09-2021

How to Cite

โพดาพล จ. (2021). การวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 1(2), 51-58. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/46