ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด

Authors

  • พิเชษฐ์ โพดาพล กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น

Keywords:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำใฝ่บริการ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Abstract

               บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตาม ประเภทหน่วยงาน และตำแหน่ง ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวนทั้งหมด 4,064 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample size) โดยใช้ตาราง R.V.Krejcie และ D.W.Morgan และได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 354 คน ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Sampling) ด้วยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุตฐานด้วย t-test และ one-way ANOVA

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. ข้อมูลพื้นฐานของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า เป็นผู้บริหาร จำนวน 191 คน คิดเป็นร้อยละ 54.00 และเป็นฝ่ายปฏิบัติการ จำนวน 222 คน คิดเป็นร้อยละ 62.70
  2. ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.59, S.D. = 0.43) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน สามารถเรียงจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ การบริการ (x̄ = 4.61, S.D. = 0.45) การมีวิสัยทัศน์ (x̄ = 4.61, S.D. = 0.47) การนอบน้อม (x̄ = 4.58, S.D. = 0.48) และการเสริมสร้างพลังอำนาจ (x̄ = 4.54, S.D. = 0.48) ตามลำดับ
  3. ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามประเภทหน่วยงาน โดยภาพรวม และรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีเพียงด้านการมีวิสัยทัศน์ที่ไม่แตกต่างกัน
  4. ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีเพียงด้านการนอบน้อมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จรัส สุวรรณมาลา. (2550). วัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 5(3). เดือนกันยายน - ธันวาคม 2550. หน้า 11-18.

ณัฐพล ใจจริง. (2560, 15 ธันวาคม). นักการเมืองท้องถิ่น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 แหล่งข้อมูล http://www.phothong101.go.th/index.php/d/q/40-q9

พิชญ์ณิฐา พรรณศิลป์ สัญญา เคณาภูมิ และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2558). บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 3(2). หน้า 146 – 161.

วนิดา วาดีเจริญ รังสรรค์ เลิศในสัตย์ และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาค ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2554). ภาวะผู้นำของนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 แหล่งข้อมูล http://www.supatta.haysamy.com/leader_pro.html.

สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด. (2563). จำนวนข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 แหล่งข้อมูล https://roietlocal.go.th/public/localpersonnel/data/detail/localpersonnel_id/1/menu/320/page/1

Avolio, B. (1999). Full leadership development: Building the vital forces in organizations. Thousand Oaks, CA: Sage.

Laub, J. (1999). Assessing the servant organization: Development of the organizational Leadership(SOLA) Instrument. Dissertation Abstracts International. 60(2), 308.

Downloads

เผยแพร่เมื่อ

31-03-2022

How to Cite

โพดาพล พ. (2022). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 2(4), 11-21. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/64