แนวทางการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านท่าสะอาด ตำบลท่าสะอาด อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย
Keywords:
แนวทางการพัฒนา, กองทุนหมู่บ้านAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของคณะกรรมกองทุนหมู่บ้านที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านในเขต ตำบลท่าสะอาด อำเภอ
นาด้วง จังหวัดเลย ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี และเพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของกองทุนหมู่บ้าน ในเขตตำบลท่าสะอาด อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านภายในเขตตำบลท่าสะอาด อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย จำนวน 7 คน ได้มาโดยมีการสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการกองทุนตามหลักการบริหารจัดการที่ดีของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คือด้านนิติธรรม ด้านความรับผิดชอบ ด้านคุณธรรม ด้านการมีส่วนร่วม ด้านความคุ้มค่า และด้านความโปร่งใส ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ในเขตตำบลท่าสะอาด อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี พบว่ามีการเสนอแนะในด้านความรับผิดชอบมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความโปร่งใส ด้านคุณธรรม ด้านความคุ้มค่า ด้านนิติธรรม และด้านการมีส่วนร่วม ตามลำดับ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถกำหนดกิจกรรมในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหมู่บ้านและให้มีการรวมกลุ่มของผู้กู้เงินกองทุนหมู่บ้านที่มีอาชีพเดียวกันเป็นกลุ่มกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการประกอบอาชีพ
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2544). กลยุทธ์การบริหารกองทุนหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาชุมชน.
ชุมพล จันปุ่ม. (2547). ความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของคณะกรรมการ กองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง เขตอำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, บัณฑิตวิทยาลัย,สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2547).ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.