จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
Keywords:
จริยธรรมวิจัยในมนุษย์, กระบวนการวิจัยAbstract
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ถูกกำหนดขึ้นเพื่อปกป้องศักดิ์ศรี ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย ที่อาสาสมัครเข้าร่วม ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญสามประการ คือ หลักการเคารพในความเป็นมนุษย์ หลักคุณประโยชน์ไม่เป็นโทษ และหลักความยุติธรรม โดยมีจุดเริ่มต้นที่สาขาทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์ แล้วจึงมาถึงสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ กล่าวคือมีผลให้การวิจัยในสาขาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยทางการแพทย์และทางชีวเวชศาสตร์ (Biomedical Research) การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science Research) การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (Scientific Research) และการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ (Social Science Research) ที่ดำเนินการศึกษาวิจัยในมนุษย์จะต้องได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จึงจำเป็นต้องดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา นักวิจัยจะได้เสนอโครงการวิจัย (Research Protocol) เพื่อขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ได้อย่างถูกต้อง ชอบด้วยเหตุผลทางจริยธรรม มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ
References
จริยา เลิศอรรฆยมณี. (2552). จริยธรรมในทางการแพทย์และการวิจัย. หลักจริยธรรมการวิจัยใน คนและคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของศิริราช. เวชบันทึกศิริราช, 2(1), 2-6.
เจนวิทย์ นวลแสง. (2561). จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ กับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561, 131 – 155.
สุธี พานิชกุล. (2549). หลักการเบื้องต้นของจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์. เวชสารแพทย์ทหารบก, 59(4), 247-253.