ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

Authors

  • ภัทรพล เสริมทรง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

Keywords:

การเลือกตั้ง, องค์การบริหารส่วนตำบล

Abstract

                    การวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ภาคการศึกษา 2/2564 จำนวน 318 รูป/คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยตาราง Krejcie and Morgan ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 175 รูป/คน ทำการสุ่มแบบชั้นภูมิ โดยยึดสาขาวิชา แล้วทำการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับสลากเพื่อระบุตัวผู้ตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า

            นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง โดยภาพรวมทุกข้ออยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.84, S.D. = 0.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน สามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านสื่อบุคคลที่มีอิทธิพล (x̄ = 3.91, S.D. = 0.67) ด้านพรรคที่สังกัด (x̄ = 3.86, S.D. = 0.58) ด้านการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง (x̄ = 3.82, S.D. = 0.59) ด้านนโยบาย (x̄ = 3.81, S.D. = 0.61) และด้านคุณสมบัติของตัวผู้สมัคร (x̄ = 3.77, S.D. = 0.66) ตามลำดับ

References

โกวิทย์ พวงงาม และอลงกรณ์ อรรคแสง. (2547). มิติใหม่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น: ผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

ขวัญหทัย แจ่มแจ้ง. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ ร.ม. (การบริหารงานยุติธรรมและสังคม). ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธมลวรรณ วรรณปลูก. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกเทศมนตรี: ศึกษากรณีเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระ ร.ม. (สื่อสารการเมือง). กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

วนิดา วาดีเจริญ รังสรรค์ เลิศในสัตย์ และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

Downloads

เผยแพร่เมื่อ

31-03-2022

How to Cite

เสริมทรง ภ. (2022). ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 2(4), 45-56. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/67