การรับรู้ข้อมูลประชาสัมพันธ์ของประชาชนเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี จังหวัดเลย

Authors

  • ศตวรรษ สงกาผัน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย

Keywords:

การรับรู้, การประชาสัมพันธ์, ผู้สมัครรับเลือกตั้ง, สมาชิกเทศบาล, นายกเทศมนตรี

Abstract

                    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการรับรู้ข้อมูลประชาสัมพันธ์ของประชาชนเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี จังหวัดเลย (2) เปรียบเทียบการรับรู้ข้อมูลประชาสัมพันธ์ของประชาชนเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี จังหวัดเลย จำแนกตามอายุ และระดับการศึกษา ประชากรศึกษาที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดเลย จำนวน 499,551 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิยึดตามสถานะแล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test 

            ผลการวิจัยพบว่า (1) การรับรู้ข้อมูลประชาสัมพันธ์ของประชาชนเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี จังหวัดเลย อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน (2) การเปรียบเทียบการรับรู้ข้อมูลประชาสัมพันธ์ของประชาชนเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี จังหวัดเลย จำแนกตามอายุ และระดับการศึกษา พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

นงค์รักษ์ ต้นเคน. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคำเตย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์นี้ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). การเมืองกับการปกครองของไทย. พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาและการมีส่วนร่วมของพลเมืองที่ 2. (2564, 23 กุมภาพันธ์). การหาเสียงของผู้สมัครรับ เลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาตม 2564 แหล่งสืบค้น https://www.ect.go.th/dlc2/ewt_news.php?nid=10030 &ewt=ZGJfMTE5X2VjdF90aA==&filename=index.

สมชาย วุฒิพิมลวิทยา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกเทศมนตรี เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี: ศึกษาในห้วงเวลา ปี 2558. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารการเมือง). กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

Huang, T. T., & Wang, W. S. (2009). Comparison of three established measures of fear of falling in community-dwelling older adult: Psychometric testing. International Journal of Nursing Studies. 46, 1313-1319.

Wilmot, W. W. (1987). Dyadic Communication. 3rd ed. New York: Random House.

Downloads

เผยแพร่เมื่อ

28-12-2021

How to Cite

สงกาผัน ศ. (2021). การรับรู้ข้อมูลประชาสัมพันธ์ของประชาชนเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี จังหวัดเลย. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 1(3), 25-31. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/50