ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย

Authors

  • จ่าสิบเอกพิศาล จันทะสงเคราะห์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Keywords:

ความขัดแย้ง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย ประกอบด้วยนายก และปลัด จำนวน 160 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการใช้ตาราง Krejcie and Morgan ในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 101 แห่ง ได้กลุ่มตัวอย่าง 80 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเพื่อการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร คือ
ไค-สแควร์ (Chi-square)

            ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย โดยรวมทั้ง 4 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ ด้านผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 รองลงมาคือ ด้านด้านข้อมูลข่าวสาร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่
ด้านความสัมพันธ์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 ตามลำดับ (2) ความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย ที่มี ตำแหน่ง และระดับการศึกษาต่างกัน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งในองค์กรโดยรวมทั้ง 4 ด้าน แต่ที่มีอายุต่างกัน มีความสัมพันธ์กันกับความขัดแย้งในองค์กร โดยรวมทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

References

ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว และคณะ. (2542). รวมพระราชบัญญัติการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.

ชาฤทธิ์ ชัยพิสุทธิ์สกุล. (2546). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันราชภัฎมหาสารคาม.

ฐานิสรา เดชเทวัญดำรง. (2551). ทัศนะของพนักงานที่มีต่อความขัดแย้งในองค์กร : กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปิยะสตรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

นัฐพร กสิบุตร. (2552). แนวทางการบริหารจัดการความขัดแย้งในองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

สมชัย วงษ์นายะ และทวนทอง เชาวกีรติพงศ์. (2551). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัย, ม.ป.ป.

Downloads

เผยแพร่เมื่อ

27-12-2021

How to Cite

จันทะสงเคราะห์ จ. (2021). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 1(2), 1-10. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/41