การดำเนินการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย
Keywords:
ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ, โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดำเนินการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย ปีการศึกษา 2563 จำนวน 118 รูป/คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิโดยใช้โรงเรียน แล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ เป็นการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 7 รูป/คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) การดำเนินการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านนโยบายและทิศทางและกลยุทธ์โรงเรียน ด้านส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และด้านการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ในองค์การ ตามลำดับ (2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย ประกอบด้วย การสร้างความตระหนักในการดำเนินการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียน สร้างบรรยากาศความเชื่อมั่นในกรทำงาน การตอบสนองการพัฒนาของผู้บริหาร เป็นต้น
References
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2560). นโยบายชุมชนแห่งการเรียนรู้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2563. แหล่งข้อมูล http://www.moe.go.th/mobile1/viewNews.php?nCatIdnews_act&moe_mod_news.
Bellanca, J. and R. Brandt. 2010. 21st Century skills: Rethinking how students learn. Solution Tree, Indiana.
DuFour, R., R. Eakey and T. Many. 2006. Learning by doing. A handbook for professional learning communities at work. Solution Tree, Bloomington.
Hord, S.M. (1997). Professional learning communities : Communities of continuous inquiry and improvement. Austin: Southwest Educational Development Laboratory.
Leithwood, K. et al. (1999). Changing leadership for changing times. New Jersey: Allyn and Bacon. The 3rd Kamphaeng Phet Rajabhat University National Conference