ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย
Keywords:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย และ (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย ปีการศึกษา 2563 จำนวน 118 รูป/คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิโดยใช้โรงเรียน แล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย โดยภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน (2) ครูและผู้บริหารสถานศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีความคิดเห็นสูงกว่าระดับปริญญาตรี
References
โกเมธ พิมพ์เบ้าธรรม. (2547). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับมัธยม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1–5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏเลย.
ทวิชย์ มะระโช. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารศรีวนาลัยวิจัย ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2560, (69 – 84).
นงนุช กลิ่นทับ , บุญสืบ มะอิ และลำจวน ป้อมบุญมี. (2552). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3 , 4 จังหวัดพิษณุโลก. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2550). ผลการฝึกอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 - 2559. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2548). การบริหารราชการแนวใหม่ บริบทและเทคนิควิธี. กรุงเทพฯ: วิชั่น พรินท์ แอนด์มีเดีย.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2561). คู่มือการตรวจสอบและประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามมติคณะรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
หงส์เพชร ทองอินทร์. (2554). การศึกษาสภาพและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาของรัฐในจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
อารี กังสานุกูล. (2553). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Bass, B.M. (1985). Leadership & performance beyond expectations. New York: Free Press.
Bass, B.M., & Avolio, B. J. (1994). Improving organization effectiveness through Transformation leadership. Thousand Oak: Sage.
Bennis, W.G. & Nanus, B. (1985). Leadership: The strategies for taking charge. New York: Harper & Row.
Burns, J.M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.