https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/issue/feed วารสารวิจัยศรีล้านช้าง 2022-12-30T17:20:54+00:00 พระมหาวัฒนา สุรจิตฺโต, ดร. wattana.kh@mbu.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิจัยศรีล้านช้าง E-ISSN 2773-9244</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทความทางวิชาการและบทความวิจัยที่มีคุณภาพ ที่แสดงถึงประโยชน์ทั้งเชิงทฤษฎี ที่นักวิจัยหรือผู้ที่สนใจสามารถนำไปพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ และประโยชน์ในเชิงปฏิบัติการ นักวิจัยหรือผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์หรือต่อยอดการวิจัยที่ครอบคลุม</p> https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/152 ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 2022-12-03T07:58:18+00:00 ไพฑูรย์ มาเมือง paitoon@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชน และ (2) ศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 379 คน โดยใช้แบบสอบถาม <br>การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย <br>ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนในเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยในระดับมาก จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน มีผลต่อทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรด้านเพศ และอายุ ไม่แตกต่างกัน &nbsp;&nbsp;</p> 2022-12-30T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/153 การดำเนินชีวิตตามหลักสันโดษของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย 2022-12-03T08:03:33+00:00 กันตพงษ์ จุลราช Junraj_Kan@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาการดำเนินชีวิตตามหลักสันโดษของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย และ (2) เปรียบเทียบการดำเนินชีวิตตามหลักสันโดษของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย จำแนกตาม เพศ ตำแหน่งหน้าที่ และระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย จานวน 254 คน โดยใช้แบบสอบถาม มีความเชื่อมั่น 0.98 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า (1) การดำเนินชีวิตตามหลักสันโดษของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย โดยเรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านยถาพลสันโดษ (ยินดีตามกำลัง) ด้านยถาลาภสันโดษ (ยินดีตามที่ได้) และ ด้านยถาสารุปปสันโดษ (ยินดีตามสมควร) ตามลำดับ (2) ผลการเปรียบเทียบการดำเนินชีวิตตามหลักสันโดษของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย จำแนกตาม เพศ ตำแหน่งหน้าที่ และระดับการศึกษา พบว่า มีไม่แตกต่างกัน &nbsp;</p> 2022-12-30T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/154 ความพึงพอใจของประชาชนในการช่วยเหลืออุทกภัยของหน่วยงานภาครัฐ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 2022-12-03T08:09:59+00:00 ภูริพงษ์ รัตนานิคม Puriphong_Ang@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในการช่วยเหลืออุทกภัยของหน่วยงานภาครัฐ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย และ (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนในการช่วยเหลืออุทกภัยของหน่วยงานภาครัฐ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จำแนกตาม เพศ อาชีพ และระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในเขตอำเภอเมืองเลย จำนวน 384 คน โดยใช้แบบสอบถาม มีความเชื่อมั่น 0.95 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า (1) ความพึงพอใจของประชาชนในการช่วยเหลืออุทกภัยของหน่วยงานภาครัฐ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลยทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนในการช่วยเหลืออุทกภัยของหน่วยงานภาครัฐ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จำแนกตาม เพศ อาชีพ และระดับการศึกษา พบว่า มีไม่แตกต่างกัน &nbsp;</p> 2022-12-30T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/155 การบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทของผูู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 2022-12-03T08:15:02+00:00 ทิพวรรณ กันยาประสิทธิ์ Tippawan_Kanya@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) การบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทของผูู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 และ (2) เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทของผูู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำแนกตาม ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จํานวน 294 คน&nbsp; เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทของผูู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;(2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทของผูู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำแนกตาม ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน พบว่าไม่แตกต่างกัน</p> 2022-12-30T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/156 การศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 2022-12-03T08:22:32+00:00 พลนวัติ ศรีสูงเนิน Phonnawat.sri@student.mbu.ac.th จักรกฤษณ์ โพดาพล chakgrit.po@hotmail.com <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 และ (2) ศึกษาเปรียบเทียบภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จําแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 294 คน &nbsp;เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .922 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้สถิติทดสอบค่าเอฟและการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของฟิชเชอร์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1&nbsp; โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านความคาดหวังและสร้างโอกาสสำหรับอนาคต ด้านความคิดเชิงปฏิวัติ ด้านความสามารถในการนําปัจจัยต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ ด้านความคิดความเข้าใจระดับสูง ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ (2) ผลการเปรียบเทียบ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จําแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2022-12-30T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/157 การบริหารจัดการการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID – 19 2022-12-03T08:31:30+00:00 รัตนาภรณ์ พินิจนึก rpinijneuk@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ในประเทศไทย ทำให้มีความจำเป็นที่ประชาชนทุกภาคส่วนต้องมีการปรับตัวเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal) ส่งผลกระทบต่อระบบการจัดการเรียนการสอนของไทยในทุกระดับชั้น ทำให้สถานการศึกษาต้องถูกปิดไปด้วยเพื่อลดช่องทางการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส กำหนดให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ห้ามการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท เพื่อจัดการเรียน <br>การสอน การสอบ ฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เว้นแต่เป็นการดำเนินการ สื่อสารแบบทางไกลหรือด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนทั่วประเทศไม่สามารถจะจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้แต่โรงเรียนก็ต้องเปิดการเรียนการสอนตามปกติแบบวิถีใหม่ ในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบ on-line ,on-hand, on-air, on –demand หรือรูปแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสมกับสภาพความ พร้อมของโรงเรียน ของครูผู้สอน และของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพเป็นไปตามหลักสูตรสถานศึกษา เต็มตามศักยภาพของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนได้นั้น โรงเรียน จะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับสภาพความพร้อมของโรงเรียน ครูผู้สอน และนักเรียน โดยยึดหลัก “ โรงเรียนหยุดเรียนที่โรงเรียน แต่นักเรียนทุกคนต้องได้เรียนรู้ อย่างทั่วถึงเสมอภาคและเต็มตามศักยภาพ” ดังนั้นการบริหารจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมในยุค COVID-19 ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ (Change Learning) โดยการบริหารจัดการต่อการเรียนการสอนสามารถเข้าถึงของนักเรียนทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้ครูประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ อันจะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนต่อไป&nbsp;&nbsp;</p> 2022-12-30T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022