พุทธิปัญญา: พระพุทธศาสนากับสันติภาพโลก
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมยุคปัจจุบันนี้ มีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น เกิดจากเรื่องแบ่งแยกดินแดนหรือภูมิรัฐศาสตร์ และอคติทางศาสนา วิถีแห่งสันติภาพ จะต้องมีการสร้างพื้นที่พูดคุยอย่างสร้างสรรค์ การเจรจา การไกล่เกลี่ย การประนีประนอม มิให้อคตินำไปสู่ความรุนแรง เพราะสันติภาพเป็นสถาวะการณ์ ในอุดมคติที่ทุกคนต่างมุ่งหวังให้มวลมนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและสันติ พุทธิปัญญา ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักจักร 4 เป็นหลักธรรมที่นำบุคคลไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อรถนำไปสู่ที่หมาย เป็นกงล้อแห่งการพัฒนา นำผู้ประพฤติปฏิบัติตามให้ถึงความเป็นใหญ่ ถึงความไพบูลย์มั่งคั่งด้วยโภคทรัพย์และความสุข กล่าวคือ สันติสุข อนึ่ง พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ เป็นพื้นฐานของความก้าวหน้า ความสุข และความงอกงาม หล่อหลอมให้เป็นคนรักสันติ รักอิสรเสรี มีนิสัยโอบอ้อมอารี มีเมตตากรุณาต่อกัน ที่เผยแผ่สู่ชาวโลกด้วยความสงบ พระพุทธเจ้าพร่ำสอนให้มวลมนุษย์เพียรปฏิบัติ โดยแนะแนวทางการดำเนินชีวิตอยู่บนพื้นฐานของคำสอน อันจะนำมาซึ่งความสงบสุขและสันติภาพในโลก ศาสนาทุกศาสนาในโลก ล้วนมีหลักธรรมที่ใช้ในการดำรงชีวิต มีกิจกรรมทางศาสนา มีจิตเมตตา มีความรักเพื่อนมนุษย์ ไม่เบียดเบียนกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ของแต่ละศาสนา มีการรวมกลุ่มกันอย่างเป็นเอกภาพ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความอดทนอดกลั้น มีสัมมาคารวะ รักกันฉันพี่น้อง เป็นมิตรที่ดีต่อกัน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและศาสนา ก่อให้เกิดสันติสุขในระดับประเทศและโลกในที่สุด
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
กฤตศรี สามะพุทธิ. (2549). เข้าใจทะไลลามะ มหาสมุทรแห่งปัญญา (Understanding the Dalai Lama). กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ที่ หจก.สามลดา.
กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ. (2546). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่นำไปสู่ความสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน: กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2542). พระพุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.
คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ. (2554). และ Heyse. (1998). อ้างใน รายงานการวิจัย, การสร้างความปรองดองแห่งชาติ.
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. (2542). อัตชีวประวัติขององค์ทะไลลามะ อิสรภาพในการลี้ภัย. พิมพ์ที่สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น, พิมพ์ครั้งที่ 3. 316-322.
ชัยวัฒน์ สถาอานนท์. (2545). สันติวิธี กรณีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ทำความเข้าใจปริศนาแนวคิดสมานฉันท์. คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประชุมสุข อาชวอำรุง. (2553), ประมวลความรู้เรื่องสันติภาพ. กรุงเทพมหานคร. 133.
เดชา ตั้งสีฟ้า. (2536). ความไร้ระเบียบของโลก: ทางเลือกในทศวรรษ 1990. สุวรรณา-ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (บรรณาธิการ), กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ.
ทัศนีย์ เจนวิถีสุข. (2554). การสื่อสารเชิงพุทธกับการเปลี่ยนแปลงสังคม. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2546). วิถีสู่สันติภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก. 12.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2555). สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิมพลักษณ์ กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย. 7.
สมภาร พรมทา. (2554). มนุษย์กับศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยาม. 30.
สำนักข่าวอิศรา, ตอ.กลาง: (2566). พื้นที่ภูมิรัฐศาสตร์. [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น: http://www.isranews.org/article/south-news/south-slide/122988-surachartgaza.html
อติเทพ ไชยสิทธิ. (2566). กระบวนการปรองดองจะเกิดขึ้นได้หรือไม่. [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น : http:/www.entightenedjurists.com.
Fred Luthans. (1983). Organizational Behavior. 3rded, Tokyo : McGraw-Hill International. 380-381.